Direct object and Indirect object : กรรมตรงและกรรมรอง
Direct object กรรมตรง = กรรมที่มีผลจากคำกริยาโดยตรง
โครงสร้างประโยค (ทำอะไร > ใคร)
- Subject + Verb + Direct Object
ตัวอย่างประโยค
He sings a song.
I wrote a love letter.
My mom bought a new backpack.
สรุป กรรมตรงจะเป็นคำนามหรือคำสรรพนามที่ถูกกระทำโดยตรงนั่นเอง
Indirect object กรรมรอง = กรรมที่ผลสืบเนื่องมาจากกรรมตรง
โครงสร้างประโยค ประโยคแบบนี้จะมีกรรมทั้ง 2 แบบ เพราะกรรมรองต้องพึ่งกรรมตรงเสมอ
1. ทำ > ใคร > อะไร (เขียนเอากรรมรองมาก่อน) นิยมใช้ แต่ข้อยกเว้นเยอะหน่อย เช่น
- บางคำใช้รูปนี้ไม่ได้เพราะจะสร้างความสับสน เช่น translate
🗴 Could you please translate me this document? (ทำ > ใคร > อะไร)
✓ Could you please translate this document for me? (ทำ > อะไร > ใคร)
- ถ้า Direct object เป็นคำสรรพนาม ห้ามใช้โครงสร้างนี้เด็ดขาด
🗴 Could you please bring me it? (ทำ > ใคร > อะไร)
✓ Could you please bring it to me? (ทำ > อะไร > ใคร)
- Subject + Verb + Indirect object + Direct object
ตัวอย่างประโยค
He gave me a gift.
I wrote him a love letter.
My mom bought me a new backpack.
2.ทำ > อะไร > เพื่อ > ใคร (เขียนเอากรรมตรงมาก่อน) ต้องมีคำเชื่อมเสมอ
- Subject +Verb + Direct object + to/for + Indirect object
ตัวอย่างประโยค
He gave a gift to me.
I wrote a love letter for him.
My mom bought a new backpack for me.
สรุป กรรมรองจะเป็นคำนามหรือคำสรรพนามที่ได้รับผลต่อมาจากกรรมตรงนั่นเอง
วิธีเลือกว่าต้องใช้ to หรือ for :
- ถ้ามีการเคลื่อนที่หรือโยกย้ายของกรรมตรง ใช้ to (แปลว่า ให้กับ)
- ถ้ายังไม่มีการเคลื่อนที่ชัดเจน เน้นแค่ว่าสำหรับใคร เพื่อใคร ใช้ for (แปลว่า สำหรับ)
กริยาที่ใช้ To นำหน้ากรรมรอง : bring นำมา, give ให้, lend ให้ยืม, pay จ่าย, read อ่าน, send/deliver ส่ง
กริยาที่ใช้ For นำหน้ากรรมรอง : cook ทำอาหาร, create สร้าง, buy ซื้อ, get เอา, make ทำ, catch จับ