ค่ากลางของข้อมูล คือ ตัวแทนของข้อมูลชุดนั้น ซึ่งค่ากลางของข้อมูลก็จะมีหลากหลายรูปแบบ แต่ละรูปแบบก็จะเหมาะกับข้อมูลที่แตกต่างกัน วันนี้เราจะมีเรียนค่ากลางของข้อมูลด้วยกันทั้งหมด 3 ตัวครับ
ค่าเฉลี่ยเลขคณิต
สำหรับค่ากลางของข้อมูลชนิดแรก คือ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต เป็นการข้อมูลที่มีทั้งหมดมาเฉลี่ยกันเพื่อที่จะได้ออกมาเป็นตัวแทนของข้อมูลกลุ่มนั้น ค่าเฉลี่ยเลขคณิตถูกใช้อย่างแพร่หลายในกรณีแต่ค่าเฉลี่ยเลขคณิตไม่เหมาะกับข้อมูลที่มีการกระจายตัวมาก เพราะจะทำให้ตัวแทนของข้อมูลไม่ตรงกับความเป็นจริง
วิธีการหาค่าเฉลี่ยเลขคณิต หาได้จากสูตร
ค่าเฉลี่ย = ผลบวกของข้อมูลทั้งหมด / จำนวนข้อมูลทั้งหมด
พูดง่ายๆคือ ถ้าข้อมูลของเราเป็นตัวเลข เอาข้อมูลทั้งหมดมาบวกกัน แล้วหารด้วยจำนวนข้อมูลทั้งหมด ก็จะได้เป็นค่าเฉลี่ยเลขคณิตนั่นเอง
มัธยฐาน
สำหรับค่ากลางของข้อมูลชนิดที่สอง คือ มัธยฐาน เป็นการหาจำนวนที่อยู่ตรงกลางของข้อมูล มักจะใช้ได้ดีในกรณีที่ข้อมูลที่มีนี้มีช่วงที่กว้าง แต่ไม่เป็นที่นิยมในการใช้เป็นตัวแทนของข้อมูลนัก
วิธีการหามัธยฐาน ทำได้โดยการ
หาข้อมูลที่อยู่ตรงกลางของข้อมูลทั้งหมด
ในกรณีที่จำนวนของข้อมูลไม่มากสามารถทำได้โดยดูตำแหน่งกึ่งกลางของข้อมูลนั้นเมื่อเรียงลำดับจากน้อยไปหามาก
แต่ในกรณีที่ข้อมูลมีจำนวนมากสามารถใช้สูตร
ตำแหน่งมัธยฐาน = (N + 1) / 2
โดยที่ N เท่ากับจำนวนข้อมูลทั้งหมด
ฐานนิยม
สำหรับค่ากลางของข้อมูลชนิดที่สาม คือ ฐานนิยาม ตามชื่อได้เลยฐานนิยม คือค่ากลางที่มีจำนวนมากที่สุด ซ้ำกันหมดที่สุด หรือ ความถี่มากที่สุดนั่นเองครับ ตัวไหนมีจำนวนมากที่สุด จะเป็นตัวแทนของข้อมูลชุดนั้น
วิธีการหาฐาน ทำได้โดยการ
หาข้อมูลที่มีความถี่สูงที่สุด
หมายเหตุ : *ในกรณีที่มีจำนวนที่มีความถี่สูงสุดเท่ากับ 2 จำนวน สามารถนิยามได้ว่า ฐานิยมของข้อมูลชุดนี้คือ 2 จำนวนที่กล่าวมาได้เลย
**แต่ถ้าทุกจำนวนมีความถี่เท่ากับ แสดงว่าข้อมูลชุดนั้นไม่มีฐานนิยม